“Well-being” หรือ “สุขภาวะ” เป็นความสุขในชีวิตฉบับสมบูรณ์ ซึ่งจะเกิดขึ้นกับคนทำงานได้ต้องมีครบ 5 องค์ประกอบ ได้แก่
1 Career Wellbeing รับรู้ถึงคุณค่างานที่ทำชัดเจน ว่าทำอะไร ทำเพื่ออะไร
2 Social Wellbeing การอยู่กับผู้คนที่เสริมพลังบวกให้กัน นั่นคือ มีเพื่อนร่วมงานที่ไว้ใจได้ มีทัศนคติที่ดี
3 Financial Wellbeing ความรู้สึกมั่นคงต่อรายได้ระยะยาว (finance security) และมีเงินเพียงพอกับรายจ่าย
4 Physical Wellbeing สุขภาพดี ไม่เจ็บป่วย แม้เลิกงานแล้วก็มี “พลังชีวิต” ที่สามารถไปทำสิ่งที่ต้องการ โดยไม่รู้สึกอ่อนล้าจนต้องหยุดพัก
5 Community Wellbeing รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม มีส่วนร่วมกับสังคมรอบข้างอย่างเป็นมิตร หรือได้เป็นผู้ให้
ทั้งนี้ Dr. Jim Harter นักวิทยาศาสตร์อาวุโสด้าน Workplace Management and Wellbeing ที่ Gallup กล่าวว่า ประสิทธิภาพในการทำงานกับสุขภาวะของพนักงานเป็นเรื่องที่ส่งผลต่อกัน หากพนักงานมีสุขภาวะที่ดีย่อมส่งเสริมให้เกิดผลงานที่มีคุณภาพ รวมถึงอัตราการป่วย ลางาน ขาดงาน และลาออกของพนักงานก็ลดลงด้วย
และกลยุทธ์การสร้าง Well-being ในองค์กร จากแนวคิดของ Cary Cooper นักจิตวิทยามหาวิทยาลัย Manchester ได้เสนอไว้ 3 ข้อ
1 การเพิ่มความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) : จัดการอบรมผู้บริหาร ผู้จัดการ ให้สามารถพัฒนาลูกน้องในเชิงสร้างแรงจูงใจ การชื่นชม ไม่คอยจ้องจับผิด และให้ความไว้วางใจเพื่อเพิ่มอิสระในการทำงาน ทำให้ลูกน้องเห็นในความสามารถของตนและรู้สึกได้ควบคุมสิ่งที่ทำมากขึ้น
2 การเพิ่มความยืดหยุ่นในการทำงาน : นำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนให้การทำงานมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ตามความเหมาะสมของหน้าที่และตำแหน่งงาน โดยให้อิสระเพียงพอในระดับที่พนักงานไม่ต้องกังวลว่าต้องอยู่หน้าจอคอมตลอดเวลา หรือต้องอยู่ในเวลาที่จำกัดเท่านั้น ให้พนักงานยังสามารถทำหน้าที่อื่นที่นอกเหนือจากงานได้ด้วย เช่น ดูแลพ่อแม่
3 การเพิ่มข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับเวลาในการสื่อสาร : กำหนดช่วงเวลาของการสื่อสารเรื่องงานให้ชัดเจน ซึ่งจะช่วยลดความเครียดและให้พนักงานแบ่งเวลาพักผ่อนได้ดียิ่งขึ้น เช่น ช่วงเวลาในการตอบอีเมล เวลาไหนควรตอบ เวลาไหนไม่จำเป็นต้องตอบ พนักงานจะได้ไม่ต้องอยู่หน้างานตลอดเวลา จนเกิดภาวะ Burnout หรือหมดไฟในการทำงาน
กลยุทธ์ทั้ง 3 ข้อนี้ สนับสนุนให้คนส่งพลังดี ๆ ให้กันมากขึ้น และช่วยลดความกดดัน ทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ดี ซึ่งมีส่วนช่วยในการส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ นั่นคือประสิทธิภาพในการทำงานที่มากขึ้นด้วย เช่นนี้ใครได้เข้าไปแล้วก็อยากทำงานด้วยนาน ๆ
สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR : 02-514-7474 ต่อ 3
อีเมล : [email protected]
Line : @jobbkkvip (อย่าลืมใส่ @)
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved
jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด