• ผู้สมัครงาน
  • มหาวิทยาลัย
  • ผู้ประกอบการ
  • สมัครสมาชิก
  • TH
    • TH
    • EN
ค้นหาตัวเองไปกับเรา
  • หน้าแรก
  • ค้นหางาน
    • ฝึกงาน
    • สหกิจศึกษา
    • งานพาร์ทไทม์
    • งานนักศึกษาจบใหม่
  • ค้นหาประวัติ
  • Job fair
  • วาไรตี้
    • ข่าวและกิจกรรม
    • บทความ HR
    • Lifestyle
    • Inspiration
  • บทความนักศึกษา
  • เกี่ยวกับจ๊อบบีเคเค
    • ติดต่อเรา
    • ร่วมงานกับเรา
  • เข้าสู่ระบบ
    • ผู้สมัครงาน
    • มหาวิทยาลัย
    • ผู้ประกอบการ
    • สมัครสมาชิก
  • หน้าแรก
  • ค้นหางาน
    • ฝึกงาน
    • สหกิจศึกษา
    • งานพาร์ทไทม์
    • นักศึกษาจบใหม่
  • ค้นหาประวัติ
  • Job fair Job Fair
  • วาไรตี้
    • ข่าวและกิจกรรม
    • บทความ HR
    • Lifestyle
    • Inspiration
  • บทความนักศึกษา
  • เกี่ยวกับจ๊อบบีเคเค
    • ติดต่อเรา
    • ร่วมงานกับเรา
  1. หน้าแรก
  2. วาไรตี้
  3. บทความนักศึกษา

ทัศนคติที่แตกต่าง “น่าจะทำได้” VS “ไม่น่าจะทำได้” ผลลัพธ์คือ...

  อัพเดต : 06-06-2019 เข้าชม : 0
  • Share This :

การเรียนการสอนในชั้นเรียนมัธยมปลายที่ประเทศญี่ปุ่น มีชั่วโมงเรียนวิ่งมาราธอน เด็กนักเรียนต้องวิ่งทางไกลระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร พวกที่เป็นนักกีฬาหรือเล่นกีฬาเป็นประจำจะวิ่งได้ไม่เหนื่อยยากมากนัก ในขณะที่นักเรียนอีกกลุ่มก็พอวิ่งได้แต่ต้องใช้ระยะเวลานานมาก  วิ่งไปเหนื่อยไปเพราะระยะทางก็ไม่น้อยทีเดียว กับอีกกลุ่มหนึ่งแค่วิ่งๆ ไปแบบไม่คิดอะไรมาก วิ่งแค่ให้พอจบๆ ไป แค่พอให้ได้ชื่อว่าวิ่ง เรียกว่า วิ่งไปเบื่อไป

 

 เปรียบการวิ่งที่ว่าไปกับการทำงานในองค์กร เราก็จะพบว่าในทุกองค์กรจะมีคนอยู่ 3 กลุ่ม

 

กลุ่มแรก คือ “คนเก่ง (Talent)” ที่จะมุ่งมั่นตั้งใจทำงานให้สำเร็จ มีผลงานที่ดีอย่างต่อเนื่อง และมีศักยภาพในการเติบโตในสายอาชีพที่ตัวเองทำงาน

กลุ่มที่สอง เป็นกลุ่มส่วนใหญ่ที่ฝีมือปานกลาง ทำงานก็พอได้ตามมาตรฐานขั้นต่ำที่กำหนด ผลงานที่ได้ยังไม่จี๊ดจ๊าดถึงขนาดหัวหน้าร้องว้าว !

กลุ่มที่สาม จะเป็นส่วนเล็กๆ ในองค์กรที่มีผลงานยอดแย่ ทำงานพอให้จบๆ ไม่คิดใส่ใจในคุณภาพของงาน หากองค์กรเลิกจ้างได้ก็คงตัดสินใจทันที หรือหากยื่นใบลาออก ก็จะมีคนพูดว่าน่าจะทำแบบนี้ตั้งนานแล้ว

 

แต่ในกลุ่มคนเก่งก็ยังมี 3 ระดับ คือ คนเก่งสุด ๆ คนเก่งปานกลาง และคนเก่ง ซึ่งแม้จะเป็นคนเก่งในระดับน้อยที่สุด ก็ยังมากฝีมือและสร้างผลงานได้ดีกว่าคนอีกสองกลุ่มที่พูดถึงก่อนหน้ามากโข และต่างก็เป็นคนที่องค์กรต้องการธำรงรักษาไว้ ไม่ปล่อยให้หนีไปทำงานกับองค์กรอื่น โดยเฉพาะคู่แข่ง เพราะหากปล่อยไปแล้ว ไม่เพียงแต่จะทำให้เสียต้นทุนการสรรหาคนใหม่ที่มักจะหาได้ยากเข้ามาแทนเท่านั้น ยังนับว่าเป็นการบั่นทอนขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กรไปโดยไม่คาดคิดอีกด้วย

 

 เรื่องที่น่าสนใจคือ สิ่งใดทำให้คนเก่งมีความแตกต่างที่โดดเด่นกว่า ?

 

ส่วนแรกก็คือ ความรู้และทักษะประสบการณ์ที่สูงกว่า ส่วนที่สองคือ การมีวิธีคิด มีแรงจูงใจ มีความรับผิดชอบกับงานและไปยาลใหญ่ที่ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือมีทัศนคติเรื่องการทำงานที่ยอดเยี่ยมมากกว่า

 

เวลาคนเก่งเจอโจทย์อะไรที่ยาก เขาจะมองมันเป็นความท้าทายที่ต้องเรียนรู้ให้เข้าใจเพื่อให้สามารถจัดการกับมันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  และเวลาเจออุปสรรคก็มักมองว่าเป็นโอกาสที่ให้ได้ทดลองทำสิ่งใหม่ เมื่อหัวหน้ามอบหมายงานที่ยากให้ทำ ก็มักถือว่าเป็นจังหวะที่จะได้พิสูจน์ฝีมือและจะไม่บ่ายเบี่ยงโดยไม่มีเหตุผล

 

 ผู้รู้ท่านบอกว่า คนเก่งที่มีศักยภาพในการทำงานสูง มักจะมีความรู้สึกพื้นฐานกับงานที่ทำว่า "น่าจะทำได้"  ไม่ใช่ทำไม่ได้หรอกเพราะไม่เคยทำแล้วไม่คิดจะลอง ความรู้สึกเช่นนี้เองที่เป็นตัวผลักดันให้คนเก่งมีความมุ่งมั่นตั้งใจ อยากลองทำและเพียรพยายามหาทางทำงานนั้นให้สำเร็จ

 

ผมคงกล่าวไม่ผิดหรอก ว่าคนเก่งกับคนไม่เก่งนั้น ประการหนึ่งต่างกันเพราะทัศนคติที่มีต่อการทำงานแตกต่างกัน ใครมีทัศนคติ (คิด) ทางบวกมากกว่า คนนั้นย่อมประสบความสำเร็จมากกว่าแน่นอน

แต่ถ้าไม่คิดจะเปลี่ยนความคิด ชีวิตความก้าวหน้าในการทำงานย่อมไม่มีทางเปลี่ยนแน่นอนเช่นกัน

 

กลับไปที่ชั่วโมงวิ่งมาราธอนของนักเรียนญี่ปุ่น หากวันหนึ่ง เด็กที่วิ่งมาราธอนด้วยความเบื่อหน่าย ปรับมุมมองใหม่ อยากเห็นภาพตัวเองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี ตัวสูงใหญ่ ขายาวขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรงเป็นมัดๆ ในวันนั้นเขาจะบอกกับตัวเองว่า "คอยดูนะ ฉันจะวิ่งมาราธอนให้เพื่อน ๆ อึ้งไปเลย ว่าฉันทำได้ยังไง"

 

แค่คิดแบบนี้ก็เป็นแรงขับ (drive) ให้การวิ่งมาราธอนนั้นสำเร็จเป็นจริงได้ เพราะความคิดของเรานี่แหละ เป็นตัวกำหนดให้เรา "แพ้" หรือ "ชนะ" เพียงคิดว่า "น่าจะทำได้" หรือ "ไม่น่าจะทำได้" ก็เป็นตัวกำหนดการกระทำที่แตกต่างของเราแล้ว

 

ฉะนั้น ทัศนคติแบบ “ฉันทำได้”  นี่แหละ คือคำอธิบายของความแตกต่างระหว่าง "คนเก่ง" กับ "คนไม่เก่ง"

ท่านว่าไหมครับ !

 

 

Credit  :  ดร.ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต  (Professional Training & Consultancy)

วิทยากรและที่ปรึกษาด้านการพัฒนาบุคลากร ผู้ผ่านประสบการณ์งานบริหาร HR จากองค์กรในโรงงานอุตสาหกรรมและธุรกิจบริการ


  • Tag :
  • ฝึกงาน
  • สหกิจศึกษา

บทความก่อนหน้า

เทคนิคการเขียนเรซูเม...

อัพเดต : 2019-06-04 15:42:46
เข้าชม : 0

บทความถัดไป

ข้อคิดที่บัณฑิตจบใหม...

อัพเดต : 2019-06-04 16:27:12
เข้าชม : 0
  • เรื่องล่าสุด
  • เรื่องยอดนิยม
อยากเป็นผู้ตามที่ดี สู่ผู้นำที่ใช่ในวันหน้า 3 เรื่...

อัพเดต : 2019-06-07 13:44:32
เข้าชม : 0
ทำไงดี ? อยากทำงานในฝัน แต่จบไม่ตรงสาย

อัพเดต : 2019-06-07 12:06:48
เข้าชม : 0
3 ลักษณะของเด็กป.ตรีจบใหม่ที่จะ "ตกงาน"

อัพเดต : 2019-06-07 16:46:35
เข้าชม : 0
เทคนิคการเขียนเรซูเม่เรียกเงินเดือนสูง สำหรับเด็กจ...

อัพเดต : 2019-06-04 15:42:46
เข้าชม : 0
บัณฑิตใหม่ อาจกลายเป็น คนเตะฝุ่น 4 เรื่องที่ต้องเต...

อัพเดต : 2019-06-04 16:02:22
เข้าชม : 0
ข้อคิดที่บัณฑิตจบใหม่ห้ามลืม ถ้าไม่อยาก “ตกงาน”

อัพเดต : 2019-06-04 16:27:12
เข้าชม : 0
job finddy-web-banner-03

job finddy-web-banner-03

บริษัท จัดหางาน จ๊อบบีเคเค ดอท คอม จำกัด

เลขที่ 625 อาคารทัศนียา ห้องเลขที่ ยูนิต เอบีซีดี ชั้น 5
ซอยรามคำแหง 39 ถนนประชาอุทิศ แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310

ฝ่ายบริการลูกค้า
0-2514-7474
แฟ็กซ์ 0-2514-7447
อีเมล [email protected], [email protected]

ฝ่ายบริการลูกค้า 0-2514-7474 แฟ็กซ์ 0-2514-7447
อีเมล [email protected], [email protected]

JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved including text, graphics, interfaces and design thereof are all rights reserved. Thailand Web Stat

เข้าสู่ระบบ

ผู้สมัครงาน
กรุณากรอกชื่อผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน

กรุณาระบุข้อมูลส่วนนี้!
กรุณาระบุข้อมูลส่วนนี้!
สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

ผู้ประกอบการ
กรุณากรอกชื่อผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน

กรุณาระบุข้อมูลส่วนนี้!!
กรุณาระบุข้อมูลส่วนนี้!!
สมัครสมาชิก

สมัครสมาชิก

ผู้สมัครงาน

สมัครสมาชิก

ผู้ประกอบการ

สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

ผู้สมัครงาน
กรุณากรอกชื่อผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน

กรุณาระบุข้อมูลส่วนนี้!
กรุณาระบุข้อมูลส่วนนี้!
สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

ผู้ประกอบการ
กรุณากรอกชื่อผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้งาน และรหัสผ่าน

กรุณาระบุข้อมูลส่วนนี้!
กรุณาระบุข้อมูลส่วนนี้!
สมัครสมาชิก

สมัครสมาชิก

ผู้สมัครงาน

สมัครสมาชิก

ผู้ประกอบการ

สมัครสมาชิก

นัดสัมภาษณ์

นัดสัมภาษณ์โดยระบบ

OK

ส่งข้อความ

English 150 characters / sms (150/150)
OK

ร้องเรียนผู้สมัครงาน

  • ข้อมูลการสมัครงานไม่ถูกต้อง
  • การสัมภาษณ์งาน
  • อื่นๆ
JOBKBB DOT COM

ข้อมูลการสมัครงานไม่ถูกต้อง

JOBKBB DOT COM

การสัมภาษณ์งาน

JOBKBB DOT COM

อื่นๆ

JOBKBB DOT COM
OK

ใบสมัครงานที่เลือก

OK