
ผู้สมัครงาน
ลางานฉ่ำ ลาบ่อยเกินเบอร์ ลาพร่ำเพรื่อ แม้เป็นสิทธิลูกจ้างตามกฎหมาย แต่เตือนแล้วนิ่งเฉย
นายจ้างไม่ไหวจริง อยากเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชยไหม
Lawเคลียร์ ขอสรุปคำตอบจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9279/2559 นะคะ
เรื่องนี้ลูกจ้างลาป่วย ลากิจ เฉลี่ยปีละ 22 วัน แต่เป็นการลาถูกระเบียบ และเนื่องจากเป็นการใช้สิทธิของลูกจ้างตามกฎหมาย จึงไม่ถือเป็นความผิดทางวินัย ดังนั้น เมื่อนายจ้างมีการออกหนังสือเตือนว่าลูกจ้างลาพร่ำเพรื่อ เมื่อลูกจ้างมีการลางานซ้ำ จะถือว่าทำผิดซ้ำหนังสือเตือนภายใน 1 ปี ไม่ได้ เพราะหนังสือเตือนนั้นไม่มีผลทางกฎหมาย เมื่อนำมาเลิกจ้างด้วยเหตุการทำผิดซ้ำหนังสือเตือน จึงต้องจ่ายค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน มาตรา 118
อย่างไรก็ตาม แม้หนังสือเตือนดังกล่าว จะไม่มีผลตามกฎหมาย แต่ก็ถือว่านายจ้างได้มีการตักเตือนลูกจ้างเรื่องลางานพร่ำเพรื่อแล้ว นายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 และลูกจ้างมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ตักเตือนแล้วไม่ปรับปรุง การเลิกจ้างจึงมีเหตุอันสมควร จึงเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม นายจ้างจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
โดยสรุปคำพิพากษานี้
1 ต้องจ่ายค่าชดเชย เนื่องจากการออกหนังสือเตือนด้วยเหตุการณ์ลางานตามสิทธิลูกจ้าง และเป็นการลาถูกระเบียบ ไม่ใช่ความผิดทางวินัย หนังสือเตือนจึงไม่มีผลทางกฎหมาย เมื่อลูกจ้างมีการลางานซ้ำ จึงไม่ถือเป็นการทำผิดซ้ำหนังสือเตือน ภายใน 1 ปี เลิกจ้างด้วยเหตุนี้ จึงไม่ใช่ความผิดตามมาตรา 119 นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย (ลูกจ้างทำงานครบ 120 วัน)
2 เลิกจ้างได้ทันที ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เพราะแม้หนังสือเตือนไม่มีผลทางกฎหมาย แต่ก็ถือว่านายจ้างตักเตือนแล้ว ลูกจ้างไม่ปรับปรุง เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จึงเลิกจ้างได้ทันที ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามป.พ.พ. มาตรา 583
3 ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เนื่องจากพฤติกรรมไม่เหมาะสม ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
ลงทะเบียนอบรมออนไลน์ฟรี หลักสูตร การออกหนังสือเตือน จัดการพนักงานสุดแสบให้ถูกกฎหมาย >> https://forms.gle/dWLoGXZgnqpXLtRX7
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved