แชร์เทคนิค หาพนักงาน ให้ได้ตัวตึงที่ตามหา

  • 27 พ.ย. 2566
  • 3074
หาพนักงาน, นายจ้างหาคนงาน, หาคนทำงาน , ลงประกาศรับสมัครงาน

แม้คนหางานจะมีมากมาย แต่การได้คนที่ใช่ คุณสมบัติดี ทักษะพร้อม จะง่ายหรือยากก็ขึ้นอยู่กับวิธีการ หาพนักงาน ตั้งแต่ความสมบูรณ์ของข้อมูลที่จะใช้ลงประกาศรับสมัครงาน ช่องทางที่ใช้ ประกาศรับสมัครงาน เช่น โซเชียลมีเดียต่าง ๆ หรือ เว็บไซต์หาพนักงาน ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากน้อยแค่ไหน สิ่งเหล่านี้คือหัวใจหลักของการหาคนทำงานเลยค่ะ

 

นอกจาก HR ต้องเข้าใจและต้องสื่อสารกับบุคคลที่เกี่ยวข้องให้รับทราบรายละเอียดทั้งหมด เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เหมาะสมไปสู่ขั้นตอนการลงประกาศรับสมัครงานที่มีคุณภาพ รวมถึงนายจ้างหาคนงาน ต้องรับฟัง HR หรือถ้าหาด้วยตนเองก็ต้องเข้าใจอย่างลึกซึ้งเลยค่ะ

 

HR Buddy ขอแชร์เทคนิค หาพนักงาน ยังไงให้ได้ตัวตึงที่ตามหา

 

นายจ้างหาคนงาน อยากได้ตัวตึงต้องจ่ายให้เหมาะสม

เรื่องแรกที่ต้องให้ความสำคัญแบบสุด ๆ คือ ค่าจ้าง สำหรับนายจ้างหาคนงาน ต้องเข้าใจและเปิดใจยอมรับด้วยว่า ทักษะสูงเท่าไร ค่าจ้างก็สูงตามเท่านั้น ถ้าเราต้องการหาคนทำงานที่พร้อมทำงาน คุณสมบัติตรงใจขั้นสุด ก็ต้องจ่ายให้เหมาะสม ดีที่สุดคือ สำรวจค่าจ้างในตลาด ว่าตำแหน่งงานที่ต้องใช้ทักษะคล้ายกับตำแหน่งที่จะลง ประกาศรับสมัครงาน บริษัทอื่นจ้างเท่าไร เราไม่ควรจ้างน้อยกว่า โดยเฉพาะกรณีต้องการคนด่วน บริษัทที่จ่ายสูงกว่า ย่อมดึงดูดผู้สมัครได้มากกว่าอยู่แล้ว

 

การประกาศรับสมัครงาน ต้องคำนึงเสมอเลยว่า คนเก่งที่มีทักษะเฉพาะทาง เป็นที่ต้องการสูง มีโอกาสเข้ามาให้เลือกมากมาย เป็นธรรมดาที่เขาจะเลือกโอกาสที่ดีที่สุดให้ตัวเอง ดังนั้นถ้าอยากได้ เราก็ต้องเป็นโอกาสที่ดีที่สุดสำหรับเขานะคะ

 

อย่างไรก็ตาม HR จะสื่อสารให้นายจ้างและบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าใจเรื่องนี้ได้นั้น ก็ต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนไปนำเสนอด้วย โดยเฉพาะข้อมูลเงินเดือนที่บริษัทอื่นลงประกาศ เช่น บริษัทคู่แข่ง หรือบริษัทที่มีสินค้าคล้ายกัน ซึ่งสำรวจได้ใน เว็บไซต์หาพนักงาน หรือโซเชียลก็ได้ ไม่ควรพูดแค่ว่า “จ้างถูก ใครจะสมัคร” HR จะถูกมองว่าไม่มีความสามารถมากพอนะคะ

 

แต่ถ้าเราจ้างน้อยกว่าตลาด และไม่สามารถเพิ่มงบได้ ก็ควรปรับลดคุณสมบัติให้เหมาะสมกับค่าจ้างของเรา ซึ่งเรื่องนี้ HR ต้องปรึกษากับนายจ้างหรือต้นสังกัดของตำแหน่งงานนั้น เพื่อพิจารณาให้สอดคล้องกับหน้าที่งาน ให้การ หาพนักงาน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่จะทำได้

 

และอีกสิ่งสำคัญที่ผู้สมัครต้องการทราบมากที่สุดก็คือ จำนวนเงินเดือนที่เป็นตัวเลขชัดเจน ไม่ควรระบุว่า ตามตกลง, ตามประสบการณ์ หรือตามโครงสร้างบริษัท การประกาศรับสมัครงานแบบนี้ มักถูกผู้สมัครมองข้าม แย่ไปกว่านั้นคือ บริษัทเราจะถูกมองในแง่ลบว่า เหตุผลที่ไม่ระบุเงินเดือนเป็นตัวเลขก็เพราะว่าต้องการกดเงินเดือน เสียภาพลักษณ์ของเราด้วยนะคะ 

 

 

 

 

หาพนักงาน ต้องเลือกช่องทางให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย

งานน่าสนใจ เงินเดือนก็ดี ถ้าเลือกช่องทางผิด ชีวิตเปลี่ยนเลยนะคะ จากที่มั่นใจเพราะคิดว่า งานดีขนาดนี้ต้องมีคนสมัครเข้ามาเยอะแน่ ๆ  แต่ผลลัพธ์กลับตรงข้ามเลย เพราะกลุ่มเป้าหมายไม่ได้อยู่ในช่องทางที่เราใช้ประกาศรับสมัครงาน อย่างใน Facebook จะมีกลุ่มหางานตามสายงานและพื้นที่เขต อำเภอ หรือจังหวัดต่าง ๆ พื้นฐานเลยก็ต้องเลือกให้ตรงหรือใกล้เคียงกับตำแหน่งงานที่ต้องการ หาพนักงาน ห้ามเด็ดขาดกับวิธีลงประกาศรับสมัครงานให้เยอะที่สุด เจอช่องทางไหนก็โพสต์ ๆ ๆ ซึ่งไม่มีประโยชน์อะไรเลยค่ะ และยังส่งผลให้ตำแหน่งงานของเราดูไม่น่าเชื่อถืออีกด้วย

 

หาคนทำงาน ต้องรู้ลึกคุณสมบัติและหน้าที่ของตำแหน่งนั้น

ประกาศงานที่น่าสนใจและดึงดูดผู้สมัครได้มากที่สุด และยังเพิ่มโอกาสให้เราหาคนทำงานได้ตรงตามต้องการ คือ ข้อมูลคุณสมบัติและหน้าที่งานครบถ้วนชัดเจน เพศ, อายุ, วุฒิการศึกษา ทักษะ, ประสบการณ์ หรืออื่น ๆ ที่สำคัญสำหรับงานนั้น แล้วหลัก ๆ จะต้องทำอะไรบ้าง ควรระบุหน้าที่ความรับผิดชอบ เรียงเป็นข้อ ๆ 1 2 3 4 ให้ผู้สมัครเห็นภาพโดยรวมว่า งานนั้นต้องทำอะไรบ้าง แล้วสามารถนำมาพิจารณากับตัวเองได้ว่า เขามีทักษะที่ตรงกับงานนั้นมากพอรึเปล่า รวมถึงชื่อตำแหน่งงานด้วยนะคะ เห็นแล้วต้องเข้าใจได้คร่าว ๆ เลยว่า งานนั้นคืองานอะไร ไม่ควรใช้ชื่อเฉพาะที่เดาไม่ได้เลยว่า มีหน้าที่อะไร เช่น พนักงานประจำสาขา หรือชื่อที่ยาวเกินไป อาทิ การตลาดและประสานงานธุรการการขาย อ่านแล้วงงในงงว่า มันคือตำแหน่งอะไรกันแน่

 

ทั้งนี้ ถ้าข้อมูลไม่ชัดเจน การลงประกาศรับสมัครงาน ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์หาพนักงาน หรือช่องทางไหนก็จะกลายเป็นเรื่องเสียเวลาเปล่าไปเลย อาจไม่มีคนสมัครหรือได้คนที่ไม่ตรงตามต้องการ ดังนั้น ข้อมูลจากต้นสังกัดที่ต้องการ หาพนักงาน ต้องครบถ้วนชัดเจน HR ก็ต้องสื่อสารให้เขาเข้าใจ ซึ่งจริง ๆ เรากำลังทำเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีต่อเขานะคะ เพราะเขาเองก็จะได้คนที่พร้อมทำงานเข้ามาด้วย ถ้าไม่เปิดใจรับฟังก็เกินไปแล้วน้า

 

แต่ข้อควรระวังก็คือ ความครบถ้วนชัดเจนของข้อมูลนั้นต้องกระชับ ไม่ยาวเกินไป อย่างหน้าที่ความรับผิดชอบ  ให้เลือกระบุเฉพาะหน้าที่หลัก ไม่ใช่ใส่ทุกอย่างมาแล้วปิดท้ายด้วยคำว่า และอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย ประกาศรับสมัครงาน แบบนี้น่ากลัวนะคะ อาจทำให้ผู้สมัครตกใจไม่กล้าสมัคร เพราะรู้สึกว่า โอ้โห ใช้งานหนักเกินคุ้มไปแล้ว ไม่ไหวจ้า

 

ลงประกาศรับสมัครงาน ระบุข้อมูลให้ครบถ้วนชัดเจน

นอกจากเงินเดือนที่เหมาะสมกับทักษะความสามารถที่ระบุเป็นตัวเลขชัดเจน คุณสมบัติ หน้าที่ความรับผิดชอบ ที่ระบุครบถ้วน ข้อมูลพื้นฐานอื่น ๆ สำหรับลงประกาศรับสมัครงานก็สำคัญเช่นกันนะคะ อาทิ ชื่อบริษัท, สถานที่ปฏิบัติงาน, วันและเวลาทำงาน ,สวัสดิการพิเศษ มีอะไรระบุให้ครบเลยนะคะ จะช่วยให้ ประกาศรับสมัครงาน น่าสนใจมากขึ้น หลายบริษัทก็แข่งกันด้วยเรื่องนี้ ถ้าระบุแค่ประกันสังคมหรือชุดพนักงานที่ทุกบริษัทต้องมีอยู่แล้ว ก็ไม่มีอะไรดึงดูดผู้สมัครเลยค่ะ

 

รวมถึงโลโก้บริษัท เพื่อความน่าเชื่อถือ ต้องเป็นไฟล์ที่ชัดเจน ที่อยู่ เบอร์โทร อีเมลสำหรับส่งเรซูเม่ ห้ามลืมเด็ดขาด แล้วก่อนที่จะลงประกาศ ทั้งช่องทางเว็บไซต์หาพนักงาน หรืออื่น ๆ เราต้องตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดอย่างละเอียดเลยนะคะ ว่าถูกต้องครบถ้วนเรียบร้อยสมบูรณ์รึยัง

 

HR ที่ต้องการ หาพนักงาน หรือนายจ้างหาคนงาน ต้องรู้เลยว่า ประกาศงานสะท้อนถึงภาพลักษณ์บริษัท รวมถึงความละเอียดรอบคอบ ความใส่ใจ ความเป็นมืออาชีพ มีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจในการสมัครด้วย ดังนั้น ตรวจสอบให้ดี อย่าให้มีพิมพ์ผิด พิมพ์ตก หรือสะกดผิด และข้อมูลต้องครบถ้วนถูกต้องด้วยนะคะ  

 

อย่างไรแล้วในฐานะของ HR หรือนายจ้างที่ต้องการหาคนทำงาน ย่อมต้องการเรซูเม่คุณภาพที่ให้ข้อมูลครบถ้วนชัดเจน เพื่อให้พิจารณาได้ว่า ผู้สมัครมีความสามารถตรงกับงานที่ลงประกาศรับสมัครงานแค่ไหน และเรซูเม่ก็สะท้อนถึง ความละเอียดรอบคอบ ความใส่ใจ ความเป็นมืออาชีพของบุคคลนั้นเช่นกัน ฉะนั้น เราอยากได้เรซูเม่แบบไหน ประกาศงานของเราก็ต้องเป็นแบบนั้น

 

เมื่อเราได้ผู้สมัครเข้ามาสู่การสัมภาษณ์งาน เราจะได้ตัวตึงที่ตามหาหรือไม่นั้นก็อยู่ที่วิธีการสัมภาษณ์งานด้วยนะคะ โดยเฉพาะตำแหน่งงานที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะทาง มีเครื่องมือเฉพาะเข้ามาเกี่ยวข้อง การพูดคุยกันอย่างเดียวไม่สามารถการันตีได้ว่าผู้สมัครมีทักษะที่พร้อมทำงาน ควรมีการทดสอบด้วยแบบทดสอบหรือให้ลองปฏิบัติจริงเลย อันนี้ยิ่งดีค่ะ และคนที่เป็นผู้สัมภาษณ์ ต้องเป็นผู้จัดการหรือระดับหัวหน้าขึ้นไป HR ต้องสื่อสารให้พวกเขาเข้าใจและบริหารจัดการเรื่องนี้ล่วงหน้าให้เป็นอย่างดี ไม่งั้นสิ่งที่เราตั้งใจทำมาทั้งหมดนี้อาจไม่มีประโยชน์อะไรเลย

 

สุดท้ายแล้วการ หาพนักงาน ให้ได้คนที่ใช่ หรือตัวตึงที่พร้อมทำงาน แค่ HR ศึกษาทำความเข้าใจเทคนิคการ ประกาศรับสมัครงาน เพียงฝ่ายเดียวอาจไม่เกิดผลลัพธ์ที่ดีตามต้องการ แต่ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการหาคนทำงาน ทั้งนายจ้าง ผู้จัดการ หัวหน้าแผนก ฯลฯ ต้องรับฟังอย่างเปิดใจยอมรับสิ่งที่ HR สื่อสาร และพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง ลงมือทำในสิ่งที่อาจไม่เคยทำมาก่อนด้วย

 

อยากให้งานประสบความสำเร็จ ต้องร่วมมือกันทำงานเป็นทีม การหาคนก็เช่นกัน ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือ จะหวังพึ่ง เว็บไซต์หาพนักงาน หรือสื่ออื่น ๆ อย่างเดียว เป็นไปไม่ได้แน่นอนค่ะ

 

สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR : [email protected]

หางานตามสาขาอาชีพ

JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved

jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด DBD

Top