ผู้สมัครงาน
เกี่ยวกับเรา
สมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบําบัดโรคสัตว์แห่งประเทศไทย(VPAT)
กว่าจะเป็นสมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์
นับถอยหลังไปกว่า 50 ปีแล้ว กิจการรักษาสัตว์ยังไม่เฟื่องฟูเป็นที่ยอมรับรับกันนัก บนถนนสุขุมวิทปากซอย 20 มีคลินิกรักษาสัตว์ที่มีชื่อเสียงด้านการรักาสัตว์ชื่อ “คลินิกสัตวแพทย์ 20” มี น.ส.พ.กิจ ตรีพัฒนา และ สพ.ญ.มล.นันทนา ตรีพัฒนา สามีภรรยาเป็นเจ้าของและผู้ประกอบการจำนวนสุนัขที่มารักาค่อนข้างมาก บางครั้งต้องรอนาน น.สพ.กิจ ตรีพัฒนา ได้ชวน รศ.น.สพ.ดานิษ ทวีติยานนท์ อาจรย์ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ซึ่งเปิดคลินิกรักษาสัตว์ที่วงเวียนใหญ่ ร่วมกับ ม.ร.ว.อำนวยพร เกษมสันต์) น.ส.พ.กิจ ตรีพัฒนา ได้ชวน รศ.น.สพ.ดานิษ ทวีติยานนท์ มาช่วยงานในวันหยุดราชการ ได้มีโอกาสคุยกัยหลายเรื่อง จึงได้เชิญหลายๆ ท่านมาพูดคุยเพิ่มขึ้น ได้แก่ น.สพ.ประทีป เปมะโยธิน, สพ.ญ.ลาวรรณ์ เปมะโยธิน, อ.ประสิทธิ์ โพธิปักษ์, ม.ร.ว.อำนวยพร เกษมสันต์, สพ.ญ.ปิยวาท ภู่ธงทอง สรุปแล้วให้ตั้งเป็นชมรม “สัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์” น.สพ.กิจ ตรีพัฒนา ได้รับเลือกให้เป็นประธานชมรมฯ และ รศ.ดาษิต ทวีติยานนท์ เป็นเลขานุการฯ โดยที่ตั้งชมรมฯ อยู่ ณ ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะกรรมการชมรมฯ ได้ช่วยกันร่างกฎเกณฑ์ให้ประธานอยู่ได้สมัยละ 2 ปี ในระยะแรกยังไม่ค่อยมีกิจกรรมอะไรมากนัก ซึ่งน.สพ.กิจ ตรีพัฒนาด้เป็นประธานชมรมฯ อยู่หลายปี
ต่อมาการเลือกตั้งประธานชมรมฯ คนใหม่ได้ น.สพ.สกล โลหิตโยธิน (จากสภากาชาดไทย) รศ.น.สพ.ดานิษ ทวีติยานนท์ ก็ยังรับหน้าที่เลขานุการ เมื่อครบ 2 ปี ศ.น.สพ.ดร.เล็ก ธนะสุกาญจน์ จาก คณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับเลือก รศ.น.สพ.ดานิษ ทวีติยานนท์ ก็ยังทำหน้าที่เลขานุการเช่นเดิม ช่วงนี้เริ่มมีการจัดพิมพ์วารสารชมรมฯ ปีละ 3 – 4 เล่ม ได้น.สพ.ประโยชน์ ตันติเจริญยศ เป็นบรรณาธิการ น.สพ.มัครพล ติ่งปาลพงษ์ เป็นผู้ช่วย น.สพ.ดร.บุญเยี่ยม เกียรติวุฒิ และสพ.ญ.วันเพ็ญ ชัยคำภา ร่วมเป็นกองบรรณาธิการ เมื่อครบ 2 ปี น.สพ.อุดม จารุตามมระ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้มาเป็นประธานชมรมฯ รศ.น.สพ.ดานิษ ทวีติยานนท์ เป็นเลขานุการฯ ช่วงหนึ่งน.สพ.อุดม จารุตามระ ได้มาบอก รศ.น.สพ.ดานิษ ทวีติยานนท์ ว่าแพทย์เขามีการออกหน่วยตามชุมชนต่างๆ เมื่อหาข้อมูลพบว่า มีอาจารย์ที่อายุรศาสตร์เขตร้อนมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธาน โดยได้เงินจากเงินพัฒนาจังหวัดจาหผู้แทนราษฎร ขณะนั้นพรรคประชากรไทยซึ่งมีผู้แทนในกรุงเทพฯ มาก แพทย์ที่ออกชุมชนได้เบี้ยเลี้ยงครั้งละ 500 บาท นักวิทยาศาสตร์ 200 บาท รศ.น.สพ.ดานิษ ทวีติยานนท์ ได้จัดทำโครงการเสนอประธาน ส่งไปที่คณะอายุรศาสตร์เขตร้อน ขอเบี้ยเลี้ยงสัตวแพทย์ ครั้งละ 200 บาท ต่อครั้งที่ออกปฏิบัติงาน โดยชุมชนจะให้เจ้าของที่มีสุนัข นำสุนัขมารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและตอนสุนัขตัวผู้ ผู้ออกปฏิบัติงาน สัตวแพทย์จากกรมปศุสัตว์ จำนวนหนึ่ง รศ.น.สพ.ดานิษ ทวีติยานนท์ และนิสิตสัตวแพทย์ปีที่ 6 จากคณะสัตวแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการนี้ทำปีตามงบประมาณ
เมื่อเริ่มโครงการใหม่ ชมรมฯ ได้ทำหนังสือเพื่อเข้าร่วมโครงการ แต่ขอปรับเบี้ยเลี้ยงให้เท่ากับแพทย์คือครั้งละ 500 บาท หัวหน้าโครงการถามว่าปีที่แล้วขอมาคนละ 200 บาท รศ.น.สพ.ดานิษ ทวีติยานนท์ ได้ตอบไปว่าเมื่อเข้าขอร่วมโครงการนั้น โครงการเริ่มไปแล้วระยะหนึ่ง เสมือนโครงการได้แบ่งเค้กไปเรียบร้อยแล้ว จึงขอไปจำนวนน้อย เพื่อไม่ให้กระทบกับโครงการ ผู้บริหารโครงการได้ทำหนังสือถามกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง หลังจากสามสัปดาห์ ได้คำตอบว่าสัตวแพทย์ได้เบี้ยเลี้ยง 500 บาท เท่าแพทย์ ทำให้หัวหน้าโครงการและเจ้าหน้าที่เข้าใจและยอมรับในสถานะของวิชาชีพเป็นอย่างดี เพราะทางราชการเป็นผู้ให้การรับรองอย่างชัดเจนการดำเนินงาน จึงผ่านไปด้วยดี
เกร็ด เรื่อง วัคซีน (Vaccinc) ช่วงเวลาดังกล่าว ภาควิชาสรีรวิทยา ของคณะแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีการเรียนการสอนที่ต้องใช้สุนัขทดลอง จึงนำสุนัขจากกรุงเทพฯ มาประมาณ 20 ตัว ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และเลี้ยงไว้ประมาณ 3 สัปดาห์ จึงเอาสุนัขมาเข้าเรียนเป็นสัตว์ทดลอง เมื่อเรียนแล้ว สุนัขซึ่งเสียชีวิตทุกตัว ได้มีการนำเอาหัวสุนัขไปตรวจที่ Seato Lab ปรากฏมีผล Positive โรคพิษสุนัขบ้าจำนวนหนึ่ง นิสิตทุกคนที่เข้าเรียนต้องไปฉีควัคซีนจนครบ Dose ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ทำให้ไม่แน่ใจว่าผลที่ปรากฏเป็นผลจากวัคซีน หรือจากสุนัขเอง ทราบว่าวัคซีนที่ใช้เป็นวัคซีนเชื้อเป็นของบริษัทหนึ่ง
บังเอิญช่วงนั้น รศ.น.สพ.ดานิษ ทวีติยานนท์ ได้รับเชิญไปดูงานที่ยุโรป และการไปในครั้งนี้ได้ไปที่บริษัทที่ผลิตวัคซีนนี้ด้วย ได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของบริษัท จนต้องไปนำ Professor ที่โรงงานออกมาอธิบาย ได้ความว่าในประเทศเขาใช้วัคซีนแต่ใช้ชนิดเชื้อตาย (Inactivated) ที่ส่งมาประเทศไทยเป็นวัคซีนเชื้อเป็น (Attenuated) และคำสุดท้ายที่พอสรุปได้คือเมื่อมีผู้สั่งเข้ามาก็ผลิตให้ ซึ่งก็ได้ข้อสรุปซึ่งผลที่ปรากฏอาจจากวัคซีนก็ได้ เมื่อ รศ.น.สพ.ดานิษ ทวีติยานนท์ กลับมาได้เข้ามาแจ้งให้คณะกรรมการชมรมฯ และชี้แจงให้บริษัททราบ ต่อมาวัคซีนดังกล่าวก็ไม่ปรากฏมีในประเทศไทยอีกเลย
เรื่องราคาวัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคต่างๆ ในสุนัข ซึ่งแต่ละคลินิกหรือโรงพยาบาลมีราคาไม่เท่ากัน ชมรมฯ ได้ประชุมกันและเชิญคลินิกมาประชุมกำหนดราคาวัคซีน ให้เท่ากันเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและเป็นธรรมแก่เจ้าของสัตว์
ข้อมูลติดต่อ
บุษบาวรรณ ปิยะวิริยะกุล
สมาคมสัตวแพทย์ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์แหประเทศไทย 559/2 ถนนประดิษฐมนูธรรม สะพานสอง เขตวังทองหลาง จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10310 ประเทศไทย
การเดินทาง
หางานตามสาขาอาชีพ
JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved
jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด